ประชาชนชาวสงขลา พร้อมใจกันสวมชุดดำ ร่วมไว้ความอาลัยต่อการจากไปของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ บริเวณพิพิธภัณฑ์พธำมะรงค์ จังหวัดสงขลา
ประชาชนชาวสงขลา พร้อมใจกันสวมชุดดำ ร่วมไว้ความอาลัยต่อการจากไปของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ บริเวณพิพิธภัณฑ์พธำมะรงค์ จังหวัดสงขลา
วันนี้ (26 พ.ค.62 ) เวลา 14.00 น. บริเวณพิพิธภัณฑ์พธำมะรงค์ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ประชาชนชาวสงขลา พร้อมใจกันสวมชุดดำร่วมไว้ความอาลัยต่อการจากไปของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ บริเวณพิพิธภัณฑ์พธำมะรงค์ จังหวัดสงขลา บรรยาการเต็มไปด้วยความโศกเศร้า ภายใต้ฝนที่ตกลงมาอย่างไม่ขาดสาย
ทั้งนี้ เมื่อเวลาประมาณ 05.00 น. นายทหารประจำบ้านสี่เสาเทเวศร์ได้นำ พลเอกเปรม ส่ง รพ.พระมงกุฎเกล้า เพื่อรักษาอาการด่วน แต่ในเวลาประมาณ 09.09 น. พลเอก เปรม ก็ถึงแก่อสัญกรรมอย่างสงบ สิริอายุ 98 ปี 9 เดือน
สำหรับประวัติของพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2463 ที่ ต.บ่อยาง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา โดยชื่อเปรมนั้น พระรัตนธัชมุนี (แบน คณฺฐาภรโณ) เป็นผู้ตั้งให้ ส่วนนามสกุลติณสูลานนท์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2462 โดย พล.อ.เปณมเป็นบุตรชายคนรองสุดท้องจากจำนวน 8 คนของรองอำมาตย์โทหลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) ต้นตระกูลติณสูลานนท์ กับนางวินิจทัณฑกรรม (ออด ติณสูลานนท์)
ด้านประวัติการทำงาน พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เริ่มรับราชการเป็นผู้บังคับหมวด ประจำกรมรถรบ เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2484 ปฏิบัติหน้าที่ ณ สมรภูมิรบปอยเปต ประเทศเขมร ในกรณีพิพาทในอินโดจีนระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลฝรั่งเศส และได้รับแต่งตั้งให้เป็นว่าที่ร้อยตรี (รับกระบี่ในสนามรบ)
เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2484
วันที่ 3 มีนาคม 2523 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นับเป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 16 ของประเทศไทย ก่อนได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เริ่มรับราชการทางการเมืองโดยได้รับการแต่งตั้งให้ เป็นวุฒิสมาชิก วันที่ 4 กรกฎาคม 2511 เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2515 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน2520 และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ 22พฤษภาคม 2522
ต่อมาเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2531 ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศยกย่อง พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ไว้ในฐานะรัฐบุรุษ และเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2541 จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นประธานองคมนตรีในสมัยรัชกาลที่ 9 จนถึง วันที่ 13 ตุลาคม 2559
จากนั้นดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม – 1 ธันวาคม 2559 และดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรี ในสมัยรัชกาลที่ 10 ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2559 ถึงปัจจุบัน
ภาพ/ข้อมูลจาก
อมลรดา ชูประสิทธิ์ /ข่าว ประชา โชคผ่อง / ภาพ
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา 26 พ.ค. 62
ทั้งนี้ เมื่อเวลาประมาณ 05.00 น. นายทหารประจำบ้านสี่เสาเทเวศร์ได้นำ พลเอกเปรม ส่ง รพ.พระมงกุฎเกล้า เพื่อรักษาอาการด่วน แต่ในเวลาประมาณ 09.09 น. พลเอก เปรม ก็ถึงแก่อสัญกรรมอย่างสงบ สิริอายุ 98 ปี 9 เดือน
สำหรับประวัติของพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2463 ที่ ต.บ่อยาง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา โดยชื่อเปรมนั้น พระรัตนธัชมุนี (แบน คณฺฐาภรโณ) เป็นผู้ตั้งให้ ส่วนนามสกุลติณสูลานนท์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2462 โดย พล.อ.เปณมเป็นบุตรชายคนรองสุดท้องจากจำนวน 8 คนของรองอำมาตย์โทหลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) ต้นตระกูลติณสูลานนท์ กับนางวินิจทัณฑกรรม (ออด ติณสูลานนท์)
ด้านประวัติการทำงาน พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เริ่มรับราชการเป็นผู้บังคับหมวด ประจำกรมรถรบ เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2484 ปฏิบัติหน้าที่ ณ สมรภูมิรบปอยเปต ประเทศเขมร ในกรณีพิพาทในอินโดจีนระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลฝรั่งเศส และได้รับแต่งตั้งให้เป็นว่าที่ร้อยตรี (รับกระบี่ในสนามรบ)
เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2484
วันที่ 3 มีนาคม 2523 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นับเป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 16 ของประเทศไทย ก่อนได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เริ่มรับราชการทางการเมืองโดยได้รับการแต่งตั้งให้ เป็นวุฒิสมาชิก วันที่ 4 กรกฎาคม 2511 เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2515 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน2520 และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ 22พฤษภาคม 2522
ต่อมาเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2531 ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศยกย่อง พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ไว้ในฐานะรัฐบุรุษ และเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2541 จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นประธานองคมนตรีในสมัยรัชกาลที่ 9 จนถึง วันที่ 13 ตุลาคม 2559
จากนั้นดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม – 1 ธันวาคม 2559 และดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรี ในสมัยรัชกาลที่ 10 ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2559 ถึงปัจจุบัน
ภาพ/ข้อมูลจาก
อมลรดา ชูประสิทธิ์ /ข่าว ประชา โชคผ่อง / ภาพ
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา 26 พ.ค. 62