บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2020

นาป๋อง ชุมชนเล็ก ๆ กลางหุบเขา เมืองสงขลา

รูปภาพ
นาป๋อง ชุมชนเล็ก ๆ กลางหุบเขา เมืองสงขลา วันนี้ผู้เขียนจึงอยากแนะนำหนึ่งสถานที่ โดยผู้เขียนเองได้ไปสัมผัสมาแล้วนั้นก็คือชุมชนบ้านนาป๋อง หมู่ที่ 7 ตำบลพะวง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เพราะที่แห่งนี้ยังมีธรรมชาติที่บอกได้ว่าหลากหลายรูปแบบและที่สำคัญชุมชนแห่งนี้ยังมีวีถีชีวิตที่สวยงาม อาทิ   1. การทำนาที่นี้ยังยึดหลักวิธีการดำโดยส่วนให้แล้วจะร่วมมือกัน ( ภาษาถิ่นเรียกออกปาก ) โดยชาวบ้านที่ทำนาจะช่วยกันดำที่แปลง เมื่อเสร็จจากแปลงนี้ก็ไปแปลงอื่น และเมื่อข้าวสุกก็จะช่วยกับเก็บทั้งวิธีเก็บแกะหรือเก็บเกี่ยว จากนั้นก็จะทำพิธีลาซัง โดยการเผ่าฟางข้าวในแปลงนา   2. คนชุมชนนาป๋องชอบสนุก จะเห็นได้ว่าคนที่นี้เมื่อมีอะไรในหมู่บ้านก็จะช่วยกัน ซึ่งผู้เขียนได้สัมผัสจากการสร้างสะพานไม้ไผ่เพื่อทำสถานที่ท่องเที่ยวในชุมชน โดยชาวบ้านได้ช่วยกันผู้ชายจะช่วยแรง ใครมีไม้ก็นำไม้มา ใครมีเครื่องมือก็นำมา ส่วนคนที่มีกิจไม่ได้ช่วยก็จะดูแลด้านอาหาร ถือว่าเป็นสิ่งที่สนุกและสร้างความสามัคคีเป็นอย่างยิ่ง ลักษณะภายในชุมชนก็จะมีถนนคอนกรีตรอบหมู่บ้าน ผู้คนส่วนให้ประกอยอาชีพเกษตรกร ปลูกยางพารา ปล

ดร.นาที ลงพื่นเกาะใหญ่ ติดตามโครงการสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา

รูปภาพ
วันที่ 10 ตุลาคม 2563 เวลา 10.30 น . นางนาที รัชกิจปราการ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคภูมิใจไทย ในฐานะตัวแทนรัฐบาล ได้ลงพื้นที่หมู่ที่ 2 ตำบล เกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา เพื่อติดตามสถานที่การสร้าง สะพานข้ามฝากระหว่างแหลมจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง กับ ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา   ซึ่งการลงพื้นที่ครั้งนี้ได้มีนายสุเทพ ศรีใส กำนันตำบลเกาะใหญ่ นายมนัส ตุลา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 นายอาทิตย์ แก้วบริสุทธิ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 นายโยธิน ทองเนื้อแข็ง และหัวหน้าส่วนราชการอำเภอกระแสสินธุ์ ได้ร่วมกันต้อนรับ จากนั้นได้มีการรับประทานอาหาร ณ ครัวแสงพญา หมู่ที่ 3 บ้านไร่   โดยสะพานข้ามฝากระหว่าง 2 จังหวัด ทะเลสาบสงขลานั้น ได้มีการเสนอเพื่อจัดการสร้างมาตั้งแต่อดีต   เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเคลื่อนย้ายสินค้าเกษตร ลดเส้นทางการคมนาคม เคลื่อนย้ายผู้คนจากฝั่งทะเลอ่าวไทยเมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ และเพื่อการส่งเสริมท่องเที่ยวในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา จากการสำรวจตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน และการลงประชาพิจารณ์ ประชามติ

เปิดตัว ว่าที่ผู้สมัคร สจ.กระแสสินธุ์ นายก อบจ. สงขลา พรรคประชาธิปัตย์

รูปภาพ
  เปิดตัว ว่าที่ผู้สมัคร สจ . กระแสสินธุ์ นายก อบจ . สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2563 เวลา 18.00 น . ณ บ้านเปรม - วไล ทองเนื้อแข็งอำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา ได้มีการจัดงานเพื่อเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส . อบจ . เขตอำเภอกระแสสินธุ์ คือนายโยธิน ทองเนื้อแข็ง และว่าที่ร้อยตรีไพเจน มากสุวรรณ์ ว่าที่ผู้สมัคร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ในนามพรรคประชาธิปัตย์ ผู้เขียนได้เข้าร่วมในงานครั้งนี้ด้วย โดยมีประชาชนร่วมรับฟังแนวนโยบายกว่า 1 พันคน ซึ่งว่าที่ผู้สมัครได้ให้แนวนโยบายไว้ดังนี้ 1. การแก้ปัญหาเรื่องน้ำ เพราะอำเภอกระแสสินธุ์นั้นจะพบกับปัญหาเรื่องน้ำปล่อยอย่างเช่น เมื่อฝนตกหนักก็จะเกิดน้ำท่วมขัง ยามแล้งจะเกิดภาวะน้ำขาดหายทำการเกษตรได้ยาก และเมื่อน้ำเค็มหนุนก็จะไม่มีน้ำทำการเกษตร เป็นต้น ว่าที่ผู้สมัคร สจ . กระแสสินธุ์ ได้กล่าวต่อว่า ท่านไพเจน เคยดำรงตำแหน่งราชการที่เกี่ยวกับกรมชลประทาน จึงมีความเชี่ยวชาญกับเรื่องน้ำเป็นอย่างดี 2. นโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมการท่องเที่ยว เนื่องด้วยอำเภอกระแสสินธุ์มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทุนทางสังคม เช่น

สื่อท่องถิ่น หารือ นายโยธิน พัฒนากระแสสินธุ์สู่สากล

รูปภาพ
มีผู้ใช้เฟสบุ๊คชื่อ นายนรุตม์ชัย สอนคง ลูกแม่จันทร์ ซึ่งเป็นแอดมินเพจ มหัศจรรย์ลุ่มเลสาบ Songkhla ได้มีการพบปะหารือกับคุณโยธิน ทองเนื้อแข็ง เกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่อำเภอกระแสสินธุ์ โดยมีเนื้อหาว่า เมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม 2563 ผู้เขียนได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับคุณโยธิน ทองเนื้อแข็ง เรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานท่องเที่ยวและการสร้างอัตตลักษ์ของอำเภอกระแสสินธุ์ โดยได้มีสาระสำคัญดังนี้ 1. การวางระบบการท่องเที่ยวผ่านสื่อสาระสนเทศต่าง ๆ เนื่องด้วยระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมาอำเภอกระแสสินธุ์ ได้คเป็นที่รู้จักกันในด้านการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งขณะนี้คุณโยธิน ทองเนื้อแข็ง นั้นได้ศึกษาในระดับปริญญาเอก สาขาการพัฒนาที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยทักษิน โดยคุณโยธิน ฯ ได้ทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานการท่องเที่ยว จึงจะช่วยเพิ่มงานส่งเสริมการท่องเที่ยวได้มากขึ้น ทั้งทางด้านแผนที่ เส้นทางท่องเที่ยว และรูปแบบงานท่องเที่ยว 2. เรื่องอัตตลักษ์ของพื้นที่ ผู้เขียนเองได้ศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับพื้นท้องถิ่น คือ ต้นสะตอ เพราะเป็นไม้อยู่ในตำบล